Wyatt Andrews visits a laboratory at the Wake Forest Institute for Regenerative Medicine, where scientists like Anthony Atala, M.D., are researching new methods to grow body parts. (CBSNews.com)
Tissue Engineering and Drug Delivery System วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineering)
เป็นกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อ (regeneration of functional tissues) เพื่อทดแทน ซ่อมแซม หรือปรับปรุงการทำงานของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่สูญเสียหรือบาดเจ็บ ซึ่งโดยปกติจะไม่มีการงอกใหม่เองในมนุษย์ ได้แก่ ผิวหนังแท้ เส้นประสาท กระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น กระบวนการสร้างเนื้อเยื่อต้องใช้การพัฒนาความรู้ต่างๆสามด้านหลัก ได้แก่ วิศวกรรมของวัสดุ ชีววิทยาของเซลล์ และวิศวกรรมชีวเคมี โดยจะเริ่มจากการพัฒนาชีววัสดุ (วัสดุที่เข้ากับร่างกายได้ดี Biomaterials) เพื่อทำหน้าที่เป็นโครงเลี้ยงเซลล์ (scaffold) ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ชีววัสดุจากธรรมชาติ เช่น คอลลาเจน เจลาติน ไหมหรือวัสดุสังเคราะห์ขึ้น เช่น PLA PCL โครงเลี้ยงเซลล์จะถูกนำไปใช้เลี้ยงเซลล์ที่ถูกคัดแยก และขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมากพอ แล้วการชักนำให้เปลี่ยนแปลง (differentiate) ไปเป็นเนื่อเยื่อที่ต้องการอย่างสมบูรณ์และสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยการควบคุมสภาวะแวดล้อมภายนอกในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor) หรือในร่างกายสิ่งมีชีวิต (in vivo regeneration)
ปัจจุบันงานวิจัยในสาขานี้มีดังนี้ วิศวกรรมเนื้อเยื่อผิวหนัง วิศวกรรมเนื้อเยื่อเพื่อพัฒนากระดูกเทียมจากวัสดุชีวภาพในประเทศ วิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนจากเซลล์ต้นกำเนิด ระบบนำส่ง growth factor ในกระบวนการซ่อมสร้างเส้นประสาทส่วนปลาย การพัฒนาระบบนำส่งเมโทรเทรกเสสทางผิวหนังเพื่อรักษาโรคผิวหนังเรื้อนกวาง การพัฒนาระบบนำส่งสารสกัดจากสมุนไพรไทยที่ไม่ละลายน้ำ การสกัด ดัดแปลง และพัฒนาวัสดุทางการแพทย์จากชีววัสดุธรรมชาติ เช่น คอลลาเจน ไคโตซาน แบคทีเรียเซลลูโลส สารสกัดจากสาหร่าย ไซโครเด็กตริน การพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพเพื่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกำเนิด
Source From>http://cubme.eng.chula.ac.th/index.php?q=research/TissueEngineeringAndDrugDeliverySystem
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น